เที่ยวท้องถิ่นสายบุญบุกชมผลงานสล่านกวัดสีน้ำเงินวัดร่องเสือเต้น

0
1991
เที่ยวท้องถิ่น

วัดร่องเสือเต้น

เที่ยวท้องถิ่น

เที่ยวท้องถิ่นสายบุญบุกชมวัดสีน้ำเงิน วัดร่องเสือเต้น สล่านก นายพุทธา  กาบแก้ว ลูกศิษย์ของอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ในการสร้างวัดร่องขุ่น จนได้ซึมซับศิลปะแนวพุทธศิลป์มาจากอาจารย์เฉลิมชัย เรียกว่า ศิษย์ก้นกุฏิเลยก็ว่าได้ วัดนี้ใช้โทนสีน้ำเงินฟ้าตัดกับสีทองเพื่อสร้างความโดดเด่นให้กับวิหาร

เที่ยวท้องถิ่น

โดยสีน้ำเงินฟ้าของตัววิหารนั้นแสดงถึงธรรมะขององค์สมเด็จพระพุทธเจ้าที่ขจรขจายไปทั่วโลก ซึ่งเป็นหลักคำสอนที่เป็นความจริงตามหลักเหตุและผล เปรียบเสมือนดังท้องฟ้าที่สดใส เป็นศิลปะแนวพุทธศิลป์ร่วมสมัยที่แฝงด้วยธรรมของพุทธองค์  เดี๋ยวๆ..หลายคนอาจสงสัยว่า สล่านก คืออะไร? ภาษาเหนือสล่า ก็คือช่าง สล่านกหรือนนายช่างนกนั่นเอง ช่างต่างๆนาๆทางเหนือก็จะให้คำนำหน้านี้ว่า สล่า งั้นเราชาวเที่ยวท้องถิ่นไปตามชมวัดสีน้ำเงินแห่งนี้กันต่อเลย

เที่ยวท้องถิ่น

พระพุทธรัชมงคลบดีตรีโลกนาถ

เที่ยวท้องถิ่น

ภายในวิหารมีผลงานจิตรกรรมภาพวาดฝาพนังเกี่ยวกับพระพุทธประวัติ โดยใช้เฉดสีน้ำเงินฟ้ามีลวดลายที่อ่อนช้อยงดงาม มีพระประธานสีขาวพระพุทธรัชมงคลบดีตรีโลกนาถมีพระประธาน โดยมีพระรอดลำพูน จำนวน 88,000 องค์และแก้วแหวนเงินทองหลายสิ่งถูกฝังอยู่ใต้พระพุทธรูปองค์นี้รวมทั้งบริเวณพระเศียรก็ได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุซึ่งได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกรวมทั้งยังได้รับพระราชทานนามพระพุทธรัชมงคลบดีตรีโลกนาถที่หมายความว่า

เที่ยวท้องถิ่น

พระพุทธเจ้าทรงเป็นมงคล เจ้าในความเป็นราชา

เป็นที่พึ่งในสามโลก

นอกจากนั้นด้านหลังวิหารมีพระพุทธรูปสีขาวปาง ห้ามญาติ องค์ใหญ่ ประดิษฐานตรงด้านหลัง ถัดไปคือ  “พระธาตุเกศแก้วจุฬามณีห้าพระองค์  โดยยอดขององค์พระธาตุ ได้บรรจุพระบรมสาริกธาตุ จากสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสงฆปรินายก

เที่ยวท้องถิ่น

ส่วนพญานาคที่อยู่หน้าวิหาร สล่านก ได้รับอิทธิพลจากศิลปะของอาจารย์ ถวัลย์ ดัชนี ที่เน้นลักษณะโครงสร้างที่เข้มแข็ง เขี้ยวเล็บแหลมคมดูน่าเกรงขาม แต่มีความอ่อนช้อยในแบบล้านนา

เที่ยวท้องถิ่น

อดีตสถานที่แห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งของวัดร้าง เมื่อ 80-100 ปีก่อน จากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่เล่าว่า ในสมัยนั้นยังไม่มีบ้านเรือนและผู้คนอาศัยอยู่มากนัก สัตว์ป่าจึงมีจำนวนมากโดยเฉพาะเสือ ชาวบ้านที่ผ่านแถวนั้นมักชอบเห็นเสือกระโดดข้ามร่องน้ำไปมา จึงเรียกบริเวณนี้ต่อๆกันมาว่าร่องเสือเต้นรวมทั้งได้เรียกหมู่บ้านใกล้เคียงบริเวณนี้ว่าบ้านร่องเสือเต้นอีกด้วย

เที่ยวท้องถิ่น

วัดร่องเสือเต้นถูกสร้างขึ้นเนื่องจากชาวบ้านร่องเสือเต้นไม่มีที่ทำบุญในหมู่บ้าน เวลาทำบุญในวันสำคัญต้องไปทำบุญที่วัดอื่น ทำให้คนในหมู่บ้านต่างกระจัดกระจายกันไป จึงได้ร่วมกันบูรณะวัดร้างแห่งนี้ เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านร่องเสือเต้น และเป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาใน วันสำคัญ 

วัดร่องเสือเต้น 

เที่ยวท้องถิ่น

สล่านกดัดแปลงมาเป็นการใช้สีน้ำเงินฟ้าแทนเพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ โดยเฉพาะ ประติมากรรมบันไดพญานาคที่ใช้เฉดสีเดียวกันนั้นมีความชดช้อยและลวดลายแตกต่างจากประติมากรรมทั่วไปอย่างเห็นได้ชัด  ได้นำเอารูปแบบผลงานของ .ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ พ..2544 ผู้สร้างบ้านดำ จ.เชียงราย ที่มีความโดดเด่นเรื่อง เขาและงามาประยุกต์ใช้  โดยเฉพาะช่วงเขี้ยวของพญานาคมีความพลิ้วไหว อ่อนช้อย  โดยพระวิหารแห่งนี้ให้นิยามว่าเป็นทิพยสถาน คือ เป็นการสรรเสริญพระพุทธเจ้าทั้งในรูปแบบของประติมากรรมและจิตรกรรม เมื่อคนเข้าไปมีจิตใจดีก็จะรักษาศีลก่อให้เกิดสมาธิ และปัญญาตามมา

เที่ยวท้องถิ่น

ขอขอบคุณโครงการดีๆ เที่ยวตามฝันครั้งหนึ่งในชีวิต  @เชียงราย  โดย ททท.

ผู้ร่วมเดินทางดีๆ ” เที่ยวไหนดี กับ Silverstonetour “

เที่ยวท้องถิ่น

อ่านเรื่องเที่ยว ดีๆ ที่นี่ เที่ยวท้องถิ่น