พิพิธภัณฑ์บ้านดำอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี
เที่ยวท้องถิ่นลุยงานสีดำของอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติชาวล้านนา เป็นผู้สร้างพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ขึ้น บนเนื้อที่กว่า 100 ไร่ ภายในมีอาคารสถาปัตยกรรมแบบกาแลกว่า 36 หลัง รวมถึงบ้านสถูปรูปทรงแปลกตา
ซึ่งเกิดจากการสร้างสรรค์ของ อาจารย์ถวัลย์ โดยตกแต่งภายในเน้นจัดแสดงผลงานศิลปะอันล้ำค่า จำนวนเป็นหมื่นๆ ชิ้นทั้งงานฝีมือแบบสล่าเหนือ เช่น เครื่องไม้แกะสลัก เครื่องเขินโบราณ เครื่องเงินล้ำค่า สิ่งของจากจีน ญี่ปุ่น อินเดีย ทิเบต กระทั้งยุโรป จนถึงหนังสัตว์และเขาสัตว์ป่านานาชนิด เช่นหนังหมี หนังควาย หนังเสือ เป็นจำนวนมาก
อ.ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ ที่มีฝีมือทางด้าน จิตรกรรม ปฏิมากรรม ได้สร้างงานด้านศิลปะไว้มากมาย ทั้งทางด้านภาพเขียนและด้านปฏิมากรรมหลายชิ้น ลักษณะ ของ บ้านดำจะเป็นกลุ่มบ้าน...
วัดร่องเสือเต้น
เที่ยวท้องถิ่นสายบุญบุกชมวัดสีน้ำเงิน วัดร่องเสือเต้น สล่านก นายพุทธา กาบแก้ว ลูกศิษย์ของอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ในการสร้างวัดร่องขุ่น จนได้ซึมซับศิลปะแนวพุทธศิลป์มาจากอาจารย์เฉลิมชัย เรียกว่า ศิษย์ก้นกุฏิเลยก็ว่าได้ วัดนี้ใช้โทนสีน้ำเงินฟ้าตัดกับสีทองเพื่อสร้างความโดดเด่นให้กับวิหาร
โดยสีน้ำเงินฟ้าของตัววิหารนั้นแสดงถึงธรรมะขององค์สมเด็จพระพุทธเจ้าที่ขจรขจายไปทั่วโลก ซึ่งเป็นหลักคำสอนที่เป็นความจริงตามหลักเหตุและผล เปรียบเสมือนดังท้องฟ้าที่สดใส เป็นศิลปะแนวพุทธศิลป์ร่วมสมัยที่แฝงด้วยธรรมของพุทธองค์ เดี๋ยวๆ..หลายคนอาจสงสัยว่า สล่านก คืออะไร? ภาษาเหนือสล่า ก็คือช่าง สล่านกหรือนนายช่างนกนั่นเอง ช่างต่างๆนาๆทางเหนือก็จะให้คำนำหน้านี้ว่า สล่า งั้นเราชาวเที่ยวท้องถิ่นไปตามชมวัดสีน้ำเงินแห่งนี้กันต่อเลย
พระพุทธรัชมงคลบดีตรีโลกนาถ
ภายในวิหารมีผลงานจิตรกรรมภาพวาดฝาพนังเกี่ยวกับพระพุทธประวัติ โดยใช้เฉดสีน้ำเงินฟ้ามีลวดลายที่อ่อนช้อยงดงาม มีพระประธานสีขาว “พระพุทธรัชมงคลบดีตรีโลกนาถ" มีพระประธาน โดยมีพระรอดลำพูน จำนวน 88,000 องค์และแก้วแหวนเงินทองหลายสิ่งถูกฝังอยู่ใต้พระพุทธรูปองค์นี้รวมทั้งบริเวณพระเศียรก็ได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุซึ่งได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกรวมทั้งยังได้รับพระราชทานนามพระพุทธรัชมงคลบดีตรีโลกนาถที่หมายความว่า
พระพุทธเจ้าทรงเป็นมงคล เจ้าในความเป็นราชา
เป็นที่พึ่งในสามโลก
นอกจากนั้นด้านหลังวิหารมีพระพุทธรูปสีขาวปาง ห้ามญาติ องค์ใหญ่ ประดิษฐานตรงด้านหลัง ถัดไปคือ "พระธาตุเกศแก้วจุฬามณีห้าพระองค์" โดยยอดขององค์พระธาตุ...
พระพุทธรูป สีเขียวที่สร้างด้วยหยก
เที่ยวท้องถิ่น พิกัด ณ วัดพระแก้ว ตั้งอยู่ที่ถนนไตรรัตน์ ใจกลางเมืองเชียงราย วัดนี้เองที่ได้ค้นพบ พระแก้วมรกต หรือพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ที่ประดิษฐานอยู่ ณ วัดศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว) กรุงเทพฯ ในปัจจุบัน
ตามประวัติเล่าว่า เมื่อปี พ.ศ. 1897 ในสมัย พระเจ้า สามฝั่งแกน เป็นเจ้าเมือง ครองเชียงใหม่นั้น ฟ้าได้ผ่า เจดีย์ร้างองค์หนึ่ง และได้พบ พระพุทธรูปลงรักปิดทอง อยู่ภายในเจดีย์ ต่อมารักกะเทาะออก จึงได้พบว่า เป็นพระพุทธรูป สีเขียวที่สร้างด้วยหยก ซึ่งก็คือ พระแก้วมรกตนั่นเอง ปัจจุบัน วัดพระแก้ว เชียงราย เป็นที่ประดิษฐาน พระหยก ซึ่งสร้างขึ้นใหม่...
พุทธศิลป์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว วัดร่องขุน
พาเที่ยวท้องถิ่นเสพงานศิลป์ วัดร่องขุ่น ตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงราย ได้รับการบูรณะโดยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ จิตรกรชาวเชียงรายผู้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) จากวัดเล็กๆ ซึ่งอยู่ในสภาพค่อนข้างเสื่อมโทรมนี้ ได้กลายเป็นศาสนสถานที่สวยงาม
ด้วยสถาปัตยกรรมและงานศิลปะ เต็มไปด้วยลวดลายอ่อนช้อย ประณีต ดึงดูดนักท่องเที่ยวท้องถิ่นให้มาเยี่ยมชมวัดนี้อย่างคับคั่งตลอดปี
“ ผมหวังที่จะสร้างงานพุทธศิลป์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของผม ให้ปรากฏเป็นงานศิลปะที่ยิ่งใหญ่ชิ้นหนึ่งของโลกมนุษย์นี้ให้ได้เพื่อ ประกาศความยิ่งใหญ่ของประเทศชาติของผมไปสู่มวลมนุษยชาติทั้งโลก ผมจึงตั้งความปรารถนาที่จะถวายชีวิตใช้ช่วงเวลาที่ดีที่สุด ของตนเอง สร้างงานพุทธศิลป์เพื่อเป็นงานประจำรัชกาลที่ 9 ให้ได้และจะถวายชีวิตไปจนตายคาวัด ”
คือคำกล่าวของ อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินชื่อดังผู้ออกแบบและก่อสร้างวัดร่องขุ่น อันมีชื่อเสียงโด่งดัง อ. เฉลิมชัย มีแรงบันดาลใจในการสร้างวัดแห่งนี้อยู่ 3 ประการ คือ เพื่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
ออกแบบและสร้างโดยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินที่มีชื่อเสียงของไทยสร้างขึ้นด้วยแรงปณิธานที่มุ่งมั่นรังสรรค์งานศิลปะที่งดงาม แปลกตา ผสานวัฒนะ ธรรมล้านนา อย่างกลมกลืน ทั้งลวดลายปูนปั้นประดับกระจกและจิตรกรรรมฝาผนัง ขนาดใหญ่ ลักษณะเด่นของวัด คือ พระอุโบสถถูกแต่งด้วย ลวดลายกระจกสีเงินแวววาวเป็นเชิงชั้นลดหลั่นกันไป หน้าบันประดับ ด้วยพญานาคมีงวงงาดูแปลกตา...
อูบคำ ทำจากไม้ไผ่นำมาสานขัดกันจากนั้นจึงลงรักปิดทอง อูบมีหลายขนาด เป็นภาชนะสำหรับใส่อาหารสำหรับพระมหากษัตริย์และพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ จะพบเจออูบคำหลายแบบหลายขนาดที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เที่ยวท้องถิ่นมาเดินทางย้อนเวลาผ่านของเก่าเล่าเรื่องกันเลย
พิพิธภัณฑ์อูบคำ ศูนย์อนุรักษ์มรดกล้านนา
ศูนย์อนุรักษ์มรดกอันล้ำค่าของอาณาจักรล้านนาโบราณ และความหลากหลายของเสื้อผ้า และอาภรณ์ของชนชาติไตเผ่าต่างๆ ในอาณาจักรล้านนา ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะอนุรักษ์ความเป็นมาอันยิ่งใหญ่ของชาวล้านนา ทำให้ อาจารย์จุลศักดิ์ สุริยะไชย จึงได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์อูบคำเพื่อเป็นศูนย์อนุรักษ์มรดกล้ำค่าของอานาจักรล้านนาโบราณ ที่นี่ยังเป็นแหล่งอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ล้านนา ละครหรือหนังประวติศาสตร์หลายเรื่องต้องเข้ามาศึกษาดูรายละเอียดของชิ้นงานเพื่อความสมจริงของประกอบฉากและเครื่องแต่งกาย
เครื่องใช้ในราชสำนักล้านนา เครื่องใช้ในราชสำนักคุ้มเจ้าต่างๆ ในล้านนา เช่น คุ้มเจ้าแพร่ คุ้มเจ้าเชียงใหม่ คุ้มเจ้าน่าน ฯลฯ ผ้าโบราณอายุ 200 ปี ซึ่งเกิดจากการตั้งใจของผู้รวบรวมที่ต้องการเก็บของมีค่าสมัยล้านนาที่กระจายอยู่ในที่ต่างๆ ให้คืนกลับสู่แผ่นดินไทย และเพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อไปในอนาคต
พระราชบัลลังก์ของกษัตริย์ไตเหนือ สมบูรณ์ อ่อนช้อย งดงาม ยิ่งใหญ่ ระดับแนวหน้าของเอเชีย พระพุทธรูปล้านนาศิลปเชียงแสน เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของล้านนา ซึ่งสร้างขึ้นด้วยศรัทธา เลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนา ผ้าทอในราชสำนัก ที่ประดิษฐ์...
องค์เจ้าแม่กวนอิมขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ
สายบุญเที่ยวท้องถิ่นขอพรเสริมบารมีองค์เจ้าแม่กวนอิมขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีความสูงประมาณ 79 เมตร เทียบเท่ากับตึกสูง 25-26 ชั้นเลยทีเดียว ตั้งอยู่บนเนินเขามองดูเด่นเป็นสง่าน่าเคารพบูชาเป็นอย่างยิ่ง เชื่อกันว่าหากใครมาขอพรในเรื่องสุขภาพ การเงิน การงาน จะได้พรนั้นกลับไป ภายในองค์เจ้าแม่กวนอิมสามรถขึ้นไปเพื่อชมวิววัดห้วยปลากั้งจากมุมสูงได้ด้วย เป็นอีกหนึ่งมุมไฮไลท์ที่ห้ามพลาดไปชมกัน
ประวัติของวัดศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้
พระอาจารย์พบโชค ได้เล่าถึงตอนครั้งแรกที่ได้มาจำวัดว่า ได้มีนิมิตฝันเห็นบน ดอยลูกนี้มีเจดีย์ขนาดสูงใหญ่มาก แต่เห็นเป็นชั้นๆ คนเดินขึ้นได้ 9 ชั้น สวยงามมาก และได้เก็บนิมิตเอาไว้ในใจ จนกระทั่งวันหนึ่งมีวิศวกรจากกรุงเทพฯมานั่งดูดวงกับพระอาจารย์พบโชค หลังดูเสร็จได้ถามพระอาจารย์ว่าจะสร้างอะไรต่อ พระอาจารย์ ได้ตอบไปว่าจะสร้างเจดีย์ เป็นรูปสามเหลี่ยม เป็นชั้นๆ 9 ชั้น แล้วมีเจดีย์เล็กๆ 12 ราศี ล้อมรอบ อีก 7 วันต่อมามีคนถือรูปเจดีย์ที่เป็นภาพสีที่แต่งโดยคอมพิวเตอร์ พอพระอาจารย์...
วัดแสงแก้วโพธิญาณ
เที่ยวท้องถิ่นพาสายบุญไหว้พระขอพร ณ วัดแสงแก้วโพธิญาณ ก่อนอื่นมารู้จักสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แหงนี้ก่อน แสงแก้วโพธิญาณ แปลว่า ดอกบัวที่ผุดโผล่ขึ้นพ้นน้ำ แล้วมีแสงสว่างเรืองรองเหมือนแสงแก้ว โดยพระครูบาอริยชาติ ท่านเกิดนิมิตว่า ฝนตกหนักมาก มองอะไรก็ไม่เห็น ครูบาก็เดินหลงไปหลงมาอยู่บนภูเขาสักพัก ก็ได้เห็นป่าทั้งป่าบนภูเขา มีดอกบัวบานเต็มไปหมด มีแสงสว่างไสวสวยงาม ครูบาจึงคิดชื่อได้จากเหตุนิมิต ที่เห็นแสงเรืองรองเหมือนแสงแก้ว กลายเป็นดอกบัว อีกนัยหนึ่งคือ โพธิญาณ หมายถึง หยั่งรู้ เหมือนบัวที่ผุดโผล่ขึ้นมาพ้นน้ำ แล้วเปล่งแสง คล้ายแสงแก้ว จึงได้ตั้งเชื่อว่า "วัดแสงแก้วโพธิญาณ”
วัดแห่งนี้สร้างโดยท่านพระครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต คณะศรัทธาบ้านป่าตึง และศิษยานุศิษย์ ผู้ซึ่งเป็นพระนักคิดนักสร้าง เป็นผุ้อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม จรรโลงพระพุทธศาสนา เจริญรอยตามครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทยอยู่แล้ว จึงได้คิดสร้างวัดใหม่ขึ้นมาเพื่อเป็นพุทธสถาน เป็นแหล่งยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวเที่ยวท้องถิ่น หลังจากนั้นท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโตได้ทำการสำรวจพื้นที่...
รอยอิฐเก่าเรื่องเล่า ' วัดป่าสัก
เที่ยวท้องถิ่นพาชม วัดป่าสัก ถือได้ว่าเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของอาณาจักรล้านนา วัดนี้มีเรื่องราวปรากฏอยู่ในตำนานกล่าวถึง พญาแสนภู กษัตริย์องค์ที่สามแห่งราชวงศ์มังราย พระโอรสของพญาชัยสงคราม หรือมีศักดิ์เป็นหลานของพญามังรายมหาราช พระองค์ได้มาสร้างเมืองเชียงแสนเมื่อราวปี พ.ศ.1883 โดยประวัติของเมืองเชียงแสนก่อนที่พญาแสนภูจะเข้าปกครองนั้น มีเรื่องราวบันทึกอยู่ในพงศาวดารโยนกว่า เมืองเชียงแสนนี้แต่กาลก่อนเป็นที่ตั้งของแคว้นโยนกนาคพันธุ์ ครั้นต่อมาไม่นานแคว้นโยนกนาคพันธุ์ก็ถึงกาลล่มสลาย พญาลาวจักราชได้มาสถาปนาเมืองขึ้นใหม่ในบริเวณทางทิศตะวันออกริมฝั่งแม่น้ำโขงนามว่า “หิรัญนครเงินยาง”
จากเรื่องราวที่กล่าวมาอาณาจักรล้านนาในยุครุ่งเรืองมีหิรัญนครเงินยางเป็นศูนย์กลางแห่งอาณาจักร เห็นได้จากซากของโบราณสถานในบริเวณอำเภอเชียงแสน บ่งบอกถึงร่องรอยแห่งศิลปวัฒนธรรมเมื่อครั้งอดีตที่เคยรุ่งโรจน์ได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะ วัดป่าสัก ซึ่งตั้งอยู่นอกกำแพงเมือง ที่พญาแสนภูเป็นผู้สร้างขึ้นนั้น เจดีย์ทรงปราสาทแบบล้านนา ยังคงอยู่ในสภาพที่นักโบราณคดี และนักประวัติศาสตร์ ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า มีสภาพที่สมบูรณ์ และสวยงาม จนไม่มีสถาปัตยกรรมที่ไหนในแผ่นดินล้านนาจะงดงามเท่า
ถึงแม้เมืองเชียงแสนจะเป็น “นครซ้อนนคร” มาหลายยุคหลายสมัย แต่เจดีย์ทรงปราสาทวัดป่าสักแห่งนี้ ถือเป็นซากวัฒนธรรมที่บ่งบอกให้รู้สึกถึงความภาคภูมิใจที่บรรพบุรุษได้ส่งต่อถึงลูกหลานเราชาวล้านนา
ซึ่งพระพุทธโฆษาจารย์นำมาถวายและโปรดฯ ให้ปลูกต้นสักล้อมรอบวัด จำนวน 300 ต้น จึงได้ชื่อว่าวัดป่าสัก ทรงตั้งให้พุทธโฆษาจารย์ เป็นสังฆราช...
ไร่ชาฉุยฟง-แม่สาย-สามเหลี่ยมทองคำ
พาเที่ยวท้องถิ่นชมไร่ชา ชิมชา กับรรยากาศเขียวสุดตา ไร่ชาฉุยฟง และไปต่อที่ แม่สาย-ท่าขี้เหล็ก ตลาดชายแดนไทย-พม่า และ สามเหลี่ยมทองคำ ลุยกันเลย
ไร่ชาฉุยฟง เป็นที่ปลูกไร่ชาที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีเนื้อที่กว่า 500 ไร่ ปลูกโค้งวนไปตามไหล่เขา ซึ่งนักท่องเที่ยวท้องถิ่นสามารถแวะถ่ายภาพและชมความงามของไร่ชาฉุยฟงได้หลายจุด พื้นที่กว้างและได้บรรยากาศ ของไร่ชาที่ กว้างใหญ่ ปลูกโค้งวนไปตามไหล่เขา ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถแวะถ่ายภาพและชมความงามได้หลายจุด นอกจากจะได้ชมทัศนียภาพที่สวยงามของไร่ชา
นอกจากจะได้ชมทัศนียภาพที่สวยงาม ของไร่ชาฉุยฟงแล้ว ที่นี่ยังมีอีกหนึ่งไฮไลท์ที่หลายคนตั้งใจมาเพื่อสิ่งนี้ นั่นก็คือ คาเฟ่ของไร่ชาฉุยฟง นั่นเอง เครื่องดื่มและเมนูขนมที่ทำมาจากชาเขียวและวัตถุดิบท้องถิ่นมากมาย แต่ที่ฮิตที่สุดใครมาก็ต้องสั่งนั่นก็คือ เครื่องดื่มชาเขียว
แม่สาย-ท่าขี้เหล็ก
แม่สายเป็น อ.ที่อยู่เหนือสุดของประเทศไทย ติดกับจังหวัดท่าขี้เหล็กของพม่า โดยมีเป็นแม่น้ำแม่สาย เป็นพรมแดนตามธรรมชาติ บริเวณนี้เป็นจุดผ่านแดนระหว่างสองประเทศ สามารถติดต่อไปมาหาเพื่อท่องเที่ยวและซื้อขายสินค้า นักท่องเที่ยวนิยมข้ามผ่านแดนไปยังตลาดท่าขี้เหล็ก เพื่อซื้อสินค้าที่หลั่งไหลมาจากประเทศจีน
ตลาดชายแดนไทย-พม่าจำหน่ายสินค้านานาชนิดประเภทอัญมณีพลอยสีทับทิมหยกเครื่องใช้ไฟฟ้าเสื้อผ้าแฟชั่นทั้งเด็กและผู้ใหญ่เครื่องประดับรองเท้ากระเป๋าเสื้อกันหนาว ช็อปกันเพลินๆเลยนะชาวเที่ยวท้องถิ่น
สามเหลี่ยมทองคำ
เป็นบริเวณที่แม่น้ำโขง ซึ่งกั้นดินแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศลาว มาพบกับแม่น้ำรวก ซึ่งกั้นดินแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศพม่า จากจุดนี้...
พระตำหนักดอยตุง – สวนแม่ฟ้าหลวง
เที่ยวท้องถิ่นพาขึ้นดอยตุง หรือ พระตำหนักดอยตุง ก่อตั้งขึ้นจากพระราชดำริของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่าของเรา โดยมีพระราชกระแสรับสั่งว่า หลังพระชนมายุ 90 พรรษา จะไม่เสด็จไปประทับที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีก
สำนักงานราชเลขานุการในพระองค์จึงได้เลือกดอยตุง ซึ่งมีทิวทัศน์สวยงาม ประกอบกับพระองค์ทรงพอพระราชหฤทัยกับดอยตุงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงมีพระราชดำริจะสร้างบ้านที่ดอยตุง
พร้อมกันนี้ยังมีพระราชกระแสรับสั่งว่า จะปลูกป่าบนดอยสูง จึงกำเนิดเป็นโครงการพัฒนาดอยตุงขึ้น โครงการพัฒนาดอยตุงเริ่มดำเนินการโดยความร่วมมือจากหน่วยราชการทุกส่วน เช่น กรมป่าไม้ กรมชลประทาน หน่วยงานด้านปกครอง นอกจากทำการปลูกป่าฟื้นฟูสภาพพื้นที่แล้วยังมีการฝึกอาชีพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวเขาบนดอยตุง ซึ่งประกอบด้วยชาวเขาเผ่าอาข่าลาหู่ ไทยใหญ่ และจีนฮ่อ ขณะเดียว กันยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของตนไว้
อาคารพระตำหนักดอยตุง มีลักษณะการก่อสร้างเป็นการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมล้านนา บ้านปีกไม้ และบ้านแบบพื้นเมือง ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์มี 2 ชั้น และชั้นลอยที่ประทับ ชั้นบนแยกเป็น 4 ส่วน แต่เชื่อมเป็นอาคารหลังเดียวกัน เสมอกับลานกว้าง นับว่ามีความสวยงามอย่างมาก
ทุ่งดอกไม้สีสันสดใส สวนแม่ฟ้าหลวง เป็นสวนดอกไม้เมืองหนาวในหุบเขา ปลูกดอกไม้หมุนเวียนสลับ ให้ออกดอกไม่ซ้ำกันตลอดสามฤดู ล้อมรอบประติมากรรมชื่อ “ความต่อเนื่อง” เป็นรูปเด็กยืนต่อตัวที่กลางสวน นอกจากนี้...