พระธาตุดอยกองมู
วัดพระธาตุดอยกองมู เป็นวัดศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวจังหวัดแม่ฮ่องสอนมาช้านาน ตั้งอยู่บนดอยกองมู พาชาวเที่ยวท้องถิ่นบุกทำบุญ ทางทิศตะวันตกของ ตัวเมืองแม่ฮ่องสอนเพียง 3 ก.ม.เดินทางโดยแยกจากทางหลวงสาย 108 ตรงบริเวณอนุสาวรีย์พระยาสิงหนาทราชาขึ้นไปทางซ้ายมือ เป็นทางลาดยางขึ้นภูเขาไปอีกประมาณ 1.5 กิโลเมตร
ก็จะถึงบริเวณวัดพระธาตุดอยกองมูเดิมมีชื่อเรียกว่า วัดปลายดอยประกอบ ด้วยพระธาตุเจดีย์ที่สวยงาม 2 องค์ พระเจดีย์องค์ใหญ่สร้างโดย จองต่องสู่ เมื่อ พ.ศ. 2403 เป็นที่บรรจุพระธาตุของ พระโมคคัลลานะ เถระ ซึ่งนำมา จากประเทศพม่า
ส่วนพระธาตุเจดีย์องค์เล็กสร้างเมื่อ พ.ศ. 2417 โดยพระยาสิงหนาทราชา เจ้าเมืองแม่ฮ่องสอน คนแรก จากวัดพระธาตุ ดอยกองมูนี้สามารถมองเห็นภูมิประเทศและสภาพตัวเมืองแม่ฮ่องสอนได้อย่างชัดเจน และสวยงามมากวัดนี้มี งานเทศกาลประจำปีหลายงาน เช่น ในวันปีใหม่ วันสงกรานต์ โดยเฉพาะในวันออกพรรษาจะมีการตักบาตรดาวดึงส์
พระธาตุเจดีย์องค์ใหญ่
ของวัดพระธาตุดองกองมูสร้างโดยพ่อค้าชาวไทยใหญ่ชื่อ “จองต่องสู่” เมื่อ พ.ศ. 2403 ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงเครื่องแบบมอญ ประดับลวดลายปูนปั้น มีฐานแปดเหลี่ยมซ้อนสามชั้น บริเวณฐานด้านล่างประดับด้วยซุ้มพระตาม ทิศทั้งแปด
พระธาตุเจดีย์องค์เล็ก
ของวัดพระธาตุดอยกองมูสร้างเมื่อ พ.ศ. 2417 โดย “พญาสิงหนาทราชา” เจ้าผู้ครอง แม่ฮ่องสอนคนแรกเพื่อ เป็นที่ระลึกในการ ขึ้นครองแม่ฮ่องสอน เป็นที่บรรจุพระธาตุของพระโมคคัลลานะเถระ ซึ่งนำมาจากพม่าลักษณะ เป็น เจดีย์ทรงเครื่องแบบมอญ มีฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนสามชั้น ตรงมุมทั้งสี่ของฐานมีปูนปั้นรูปสิงห์ประดับอยู่ บริเวณฐานด้านล่างประดับด้วยซุ้มพระแบบศิลปะมอญ ซุ้มประธานมีหลังคาประดับเรือนยอดสามยอดแต่ละยอด เป็นทรงประสาทซ้อนสามชั้น ประดับลวดลายปูนปั้นสวยงามวิหารอยู่ติดกับพระธาตุเจดีย์องค์ใหญ่ สร้างขึ้นพร้อมกัน มีลกษณะเป็นอาคารทรงโรงเปิดโล่ง ผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคาซ้อนสามชั้น มุงด้วย กระเบื้องไม้และตกแต่งโลหะ ฉลุลวดลายตามแบบศิลปะไทใหญ่
วิหารวัดพระธาตุดอยกองมู
อยู่ติดกับพระธาตุเจดีย์องค์ใหญ่ สร้างขึ้นพร้อมกัน มีลักษณะเป็นอาคารทรงโรงเปิดโล่ง ผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคา ซ้อนสามชั้นมุง ด้วยกระเบื้องไม้และตกแต่งโลหะฉลุลวดลายตามแบบศิลปะไทใหญ่
ขอขอบคุณโครงการดีๆ ” เที่ยวตามฝัน ครั้งหนึ่งในชีวิต ” โดย ททท.
ผู้ร่วมเดินทางดีๆ ” เที่ยวไหนดี กับ Silverstonetour “
รีวิวต่อ ที่นี่ เที่ยวท้องถิ่น